ก่อนที่เราจะมาทำการเลือกตะหลิวหรือทัพพีให้เหมาะกับภาชนะ
เรามาแบ่งหมวดของตัวภาชนะกันก่อน ในที่นี้เราจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1. ภาชนะเคลือบผิวด้วยวัสดุต่างๆ เช่น สารเคลือบเทฟลอน/หินอ่อน/เซรามิก/อินาเมล(สารประเภทคล้ายแก้ว)
2. ภาชนะที่ไม่มีสารเคลือบ เช่น สเตนเลส/ทองแดง/อลูมิเนียม/ทองเหลือง/กระทะเหล็ก/แก้วทนความร้อน
เมื่อเราแบ่งลักษณะของภาชนะเป็นหมวดแล้ว เรามาดูในส่วนของวัสดุของทัพพี ตะหลิวกัน
1. PP plastic (พลาสติกพีพีสำหรับอาหาร) วัสดุแบบนี้จะใช้ได้กับภาชนะทั้ง 2 กลุ่ม แต่ในส่วนของเรื่องการใช้งานนั้นอาจจะพบกับปัญหาการใช้งานในส่วนของตัววัสดุละลาย เพราะว่าตัวพลาสติกพีพีนั้นจะทนความร้อนได้โดยประมาณ 130-170 องศาเซลเซียส แต่ในการประกอบอาหารจะอยู่เริ่มต้นที่ 180 องศาเซลเซียสโดยประมาณ แต่ละชนิดอาหารจะมีความร้อนที่ไม่เท่ากัน
2. Silicone (ซิลิโคน) วัสดุแบบนี้จะใช้ได้กับภาชนะทั้ง 2 กลุ่ม ซิลิโคนจะเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติความเฉื่อย คือไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและจะทนความร้อนได้สูงถึง 315 องศาเซลเซียส และยังมีคุณสมบัติกันติดด้วย ทั้งนี้ยังผ่านผลวิจัยเรื่องสารตกค้าง (ซึ่งยังไม่มีใครค้นพบว่าซิลิโคนจะมีสารใดที่ทำให้เกิดอันตรายในขณะประกอบอาหาร)
3. Wood (ไม้) วัสดุแบบนี้จะใช้ได้กับภาชนะทั้ง 2 กลุ่ม เวลาเลือกซื้อ ซื้อแบบไม่มีสารเคลือบ(ไม่เคลือบเงา) แต่หากหลังจากการใช้งานข้อควรระวังในเรื่องของการทำความสะอาด ต้องระวังคราบที่ติดตามขอบตัวตะหลิว/ทัพพี เพราะจะเป็นสาเหตุการเกิดแบคทีเรียสะสมได้ ควรมีการทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อ
4. Metal (โลหะ/อลูมิเนียม/ทองเหลือง/ทองแดง) วัสดุแบบนี้จะใช้ได้เฉพาะภาชนะ กลุ่มที่ 2 (ภาชนะที่ไม่มีสารเคลือบ) เช่น ภาชนะที่เป็นประเภทสเตนเลส การเลือกตัววัสดุ Metal ต้องระวังตามขอบของตะหลิวกับทัพพีอย่าให้มีความคม เพราะจะทำให้ภาชนะของเราเกิดความเสียหายเป็นรอยได้
ทั้งนี้การเลือกตะหลิว ทัพพี
1.ควรที่จะเลือกให้เหมาะกับการประกอบอาหารแต่ละแบบว่าต้องการทนความร้อนที่เท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุละลายปนเปื้อนในอาหาร
2.หากเป็นวัสดุโลหะ ควรเลือกแบบไม่มีคม เพื่อไม่ให้ไปทำลายตัวภาชนะของเรา
3. หากตัวทัพพี หรือตะหลิว ที่มีข้อต่อ รอยต่อ ควรดูที่ยึดติดสนิทเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค/น้ำขัง
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ตะหลิว และทัพพีที่เหมาะกับภาชนะต่างๆ ที่เราใช้กันในครัวเรือน
หากเป็นจำพวกกระทะไฟฟ้า ก็จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบเคลือบสารกันติด และไม่เคลือบ หากให้ทางนิวเวฟแนะนำ ของแนะนำเป็นตัวทัพพีที่ทำมาจากซิลิโคน หรือเซรามิก เพราะ สามารถใช้ได้กับทั้งมีสารเคลือบกันติดหรือไม่เคลือบก็ได้ และยังคงแข็งแรงทนทาน สวยงาม ทำความสะอาดง่าย และยังช่วยยืดอายุตัวภาชนะของเราให้คงทนสวยงามได้นานยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณความรู้จาก Youtube: IndyKK ที่มาแบ่งปันความรู้เทคนิคดีๆ ให้เราได้ปรับใช้กัน